เมนู

89. อรรถกถาโพธิสิญจกเถราปทาน


อปทาของท่านพระโพธิสิญจกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า วิปสฺสิสฺส
ภควโต
ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในอเนกชาติ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง
บวชในพระศาสนา ยังพระศาสนาให้งามด้วยวัตรปฏิบัติ เห็นมหาชน
พากันบูชาต้นโพธิ์ จึงให้คนถือเอาดอกไม้และของหอมเป็นอันมากบูชา.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านบังเกิดในเทวโลก เสวยกามาพจรสมบัติ 6 ชั้น
ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีสกุลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เกิด
ศรัทธา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว ให้กาลล่วงไปด้วยสุขอันเกิดแต่ผลแห่ง
ฌาน ระลึกถึงบุพกรรม เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึง
กล่าวคำมีอาทิว่า วิปสฺสิสฺส ภควโต ดังนี้.
ในคำเหล่านั้นมีวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ ชื่อว่า วิปัสสี เพราะเห็นคุณ
วิเศษ คืออรรถอย่างยิ่ง ได้แก่พระนิพพาน อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า วิปัสสี
เพราะเห็นชนผู้ควรและไม่ควรแก่การตรัสรู้โดยวิเศษ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
วิปัสสี เพราะเห็นแจ้งชัด คือมีปกติเห็นสัจจะ 4 เชื่อมความว่า เราได้เป็น
ผู้บูชาต้นมหาโพธิ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสีนั้น. ในคาถา
นั้น ญาณในมรรคทั้ง 4 ท่านเรียกว่า โพธิ ในบทว่า มหาโพธิ นี้.
แม้ในคาถานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ ต้นโพธิ์นั้น ตรัสรู้

สัจจะ 4 นั้น เพราะฉะนั้น แม้ต้นกรรณิการ์ ท่านก็เรียกว่าโพธิ์เหมือน
กัน, โพธิ์นั้นอันเทพ พรหม นระ และอสูรบูชาแล้ว เพราะฉะนั้น ท่าน
จึงเรียกว่ามหาโพธิ์ อีกอย่างหนึ่ง ที่ท่านเรียกว่าโพธิ์ เพราะเป็นที่ตรัสรู้
ของพระพุทธเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ อธิบายว่า ได้มีการบูชาใหญ่แด่พระผู้มีพระภาค-
เจ้านั้น. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาโพธิสิญจกเถราปทาน

ปทุมปุปผิยเถราปทานที่ 10 (90)


ว่าด้วยผลแห่งการโยนดอกปทุมขึ้นบูชา


[92] เราเข้าไปยังป่าบัว บริโภคเหง้าบัวอยู่ ได้เห็นพระสัม-
พุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ มีพระลักษณะอันประเสริฐ 32
ประการ.

เราจับดอกปทุมโยนขึ้นไปในอากาศ เราระลึกถึงกรรมอัน
ลามกแล้ว ออกบวชเป็นบรรพชิต.

ครั้นบวชแล้ว มีกายและใจอันสำรวมแล้ว ละวจีทุจริต
ชำระอาชีพให้บริสุทธิ์.

ในกัปที่ 92 แต่กัปนี้ เราบูชา (พระพุทธเจ้าด้วย) ดอกไม้
ใด ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธ-
บูชา.

ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน (จักรพรรดิ) 18 ครั้ง ทรงพระนาม
เหมือนกันว่า ปทุมภาสะ ในกัปที่ 18 ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน
48 ครั้ง.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และ
อภิญญา 6 เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปทุมปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปทุมปุปผิยเถราปทาน